คุณอาย พารู้ 10 ประเทศอาเซียน
เรามาทำความรู้จักกับ 10 ประเทศอาเซียน กันดีกว่า !!
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
การทักทายของกลุ่มอาเซียน
คำทักทาย 10 ประเทศ อาเซียน
1.ประเทศไทย
คำทักทาย – สวัสดี
2.ประเทศบรูไน
คำทักทาย – ซาลามัต ดาตัง
3.ประเทศกัมพูชา
หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า “เขมร”
คำทักทาย – ซัวสเด
4.ประเทศอินโดนีเซีย
คำทักทาย – ซาลามัต เซียง
5.ลาว เพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดเราที่สุด
คำทักทาย – สบายดี
6.มาเลเซีย
คำทักทาย – ซาลามัต ดาตัง
7.พม่า
8.ฟิลิปปินส์
คำทักทาย – กูมุสตา
9.สิงคโปร์
คำทักทาย – หนีห่าว
10.ประเทศเวียดนาม
คำทักทาย – ซินจ่าว
อาเซียนคืออะไร
อาเซียนคืออะไร
อาเซียน คือ การรวมตัวกันเป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรวมตัวกันในชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) โดยใช้ชื่อย่อว่า ASEAN อ่านออกเสียงภาษาไทยว่า อาเซียน โดยมีจุดประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนก็เพื่อส่งเสริมและร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งด้านสันติภาพ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการกระจายองค์ความรู้ และด้านสังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกทุกประเทศ
อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมือง ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน
อาเซียน (ASEAN, Association of South East Asian Nations) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยมีประเทศอาเซียนที่เป็นสมาชิกเริ่มต้นจำนวน 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาจึงมีประเทศขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชาตามลำดับ ทำให้ประเทศอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศดังเช่นปัจจุบัน
ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
ประเทศเวีดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
ประเทศเวีดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นลำดับที่ 7 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
ข้อมูลทั่วไปของประเทศเวียดนาม
- ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
- ชื่อภาษาอังกฤษ : Socialist Republic of Vietnam
- ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
- เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Ha Noi)
- ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม (Vietnamese)
- สกุลเงิน : ด่ง (Dong, VND)
- พื้นที่ : 128,565 ตารางไมล์ (331,210 ตารางกิโลเมตร)
- จำนวนประชากร : 89,693,000 คน
- การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ปกครองสูงสุด
- Time Zone : UTC+7 ใช้เวลาเดียวกับประเทศไทย
- GDP : 358,889 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- รายได้ต่อหัวประชากร : 4,001 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
- รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +84
ประเทศไทย (Thailand)
ประเทศไทย (Thailand)
ประเทศไทย นอกจากจะเป็นสมาชิก 5 ชาติแรกและเป็นผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนแล้ว ยังเป็นเจ้าภาพในการลงนามเพื่อสร้างข้อตกลงในการสร้างกลุ่มอาเซียนขึ้นมาด้วย โดยการลงนามนี้เรียกว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามกันเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ที่พระราชวังสราญรมย์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ทั้งประเทศ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่ากรุงเทพคือบ้านเกิดของอาเซียน
ข้อมูลทั่วไปของประเทศไทย
- ชื่อภาษาไทย : ราชอาณาจักรไทย
- ชื่อภาษาอังกฤษ : The Kingdom of Thailand
- ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
- เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
- ภาษาราชการ : ภาษาไทย (Thai)
- สกุลเงิน : บาท (Thai Baht, THB)
- พื้นที่ : 198,115 ตารางไมล์ (513,115 ตารางกิโลเมตร)
- จำนวนประชากร : 64,785,909 คน
- การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
- Time Zone : UTC+7
- GDP : 673,725 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- รายได้ต่อหัวประชากร : 9,874 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
- รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +66
ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
ประเทศสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียนเช่นกัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ประเทศสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียนเช่นกัน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศสิงคโปร์
- ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐสิงคโปร์
- ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of Singapor
- ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
- เมืองหลวง : สิงคโปร์
- ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษและภาษาจีนกลาง (English/Mandarin
- สกุลเงิน : ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar, SGD)
- พื้นที่ : 276 ตารางไมล์ (716 ตารางกิโลเมตร)
- จำนวนประชากร : 5,399,200 คน
- การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
- Time Zone : UTC+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
- GDP : 348,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- รายได้ต่อหัวประชากร : 64,584 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
- รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +65
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
ประเทศฟิลิปปินส์ ก็เป็นอีกหนึ่งสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ประเทศฟิลิปปินส์ ก็เป็นอีกหนึ่งสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มอาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ตามปฏิญญากรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไปของประเทศฟิลิปปินส์
- ชื่อภาษาไทย : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
- ชื่อภาษาอังกฤษ : Republic of the Philippines
- ที่ตั้ง : ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
- เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)
- ภาษาราชการ : ภาษาตากาล็อกและอังกฤษ (Filipino/English)
- สกุลเงิน : เปโซ (Peso, PHP)
- พื้นที่ : 115,120 ตารางไมล์ (298,170 ตารางกิโลเมตร)
- จำนวนประชากร : 92,337,852 คน
- การปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
- Time Zone : UTC+8 (ช้ากว่าเวลาประเทศไทย 1 ชั่วโมง)
- GDP : 456,418 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- รายได้ต่อหัวประชากร : 4,682 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
- รหัสโทรศัพท์ (IDC) : +63
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)